วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ คือ รูปแบบในระยะยาวของสภาพอากาศ (Weather) ในพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ หรืออธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นค่าเฉลี่ยของสภาพอากาศ (Weather) ในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงเวลาหนึ่งๆซึ่งต้องมากกว่า 30 ปี การศึกษาเกี่ยวกับ        สภาพภูมิอากาศพิจารณาไปที่ ค่าเฉลี่ยของน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลมหรือ การตรวจวัดสภาพอากาศอื่นๆที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ เช่น จากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำและข้อมูลจากดาวเทียม พบว่าในช่วงหน้าร้อนพื้นที่ที่ศึกษามีความแล้งกว่าปกติและถ้าความแห้งแล้งนี้ยังปรากฏอย่างต่อเนื่องในทุกๆหน้าร้อนก็สามารถเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง (NOAA 2005)
สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโลกถ้าสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นเช่นอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆเปลี่ยนแปลงไปสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะค่อยๆสูญพันธุ์ไปในที่สุด บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นโดยคาดว่าจะมีระดับน้ำทะเลสูงถึง 9-88 ซม. และอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ.2100 จะทำให้เกิดน้ำท่วมเกาะเล็กๆ จมหายไป พื้นที่ที่อยู่อาศัยลดน้อยลงและสร้างความเสียหายกับชายฝั่ง เขตภูมิอากาศ เขตนิเวศและเขตเกษตร เขตอบอุ่นจะเคลื่อนไปอยู่ที่ละติจูดสูงขึ้นอีกประมาณ 150-550 กิโลเมตร ป่าไม้ทะเลทรายทุ่งหญ้าและพื้นที่ธรรมชาติต่างๆจะมีลักษณะอากาศชื้นแห้งแล้ง ร้อน หรือหนาวมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างกว้างขวางคุกคามขีดความสามารถในการผลิตอาหารของโลก ทำให้ทรัพยากรน้ำเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพต่างๆจะเสียหาย (กรมอุตุนิยมวิทยามปป)
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติและมนุษย์เป็นตัวการสำคัญ การเปลี่ยนแปลงโดยสาเหตุทางธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลายาวนาน แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์จะเห็นผลได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่า
ปัจจัยจากธรรมชาติ
การหมุนรอบตัวเองของโลกและรอบดวงอาทิตย์
การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์มีผลต่อภูมิอากาศเนื่องจากการกระจายของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกลงมายังผิวโลกตามละติจูดต่างๆเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คือจะทำให้ฤดูกาลในภูมิอากาศต่างๆบนพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลงด้วยอย่างเป็นลูกโซ่ โดยที่ Milankovitch นักดาราศาสตร์ชาว ยูโกสลาเวียได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลต่างๆ (ปานทิพย์, 2554) ประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งจะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่างๆน้อยมากแต่จะมีบทบาทที่สำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในช่วงระยะเวลานับพันปี
80



การเอียงของแกนโลกจากเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามฤดูกาลปัจจุบันมุมที่แกนโลกเอียงจากเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 23.5 องศา มุมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบประมาณ 42,000 ปีโดยจะผันแปรอยู่ระหว่าง 21.8-24.4 องศา เมื่อมุมเอียงนี้เปลี่ยนแปลงไปความรุนแรงของฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยถ้าเอียงน้อยความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนจะน้อย





การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุจากภายนอกโลกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พลังงานดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านปริมาณและด้านคุณภาพซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลก การเปลี่ยนแปลงของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์มีข้อเสนอมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการผันแปรพลังงานดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะแสดงถึงความสัมพันธ์กับวงจรการเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) และหมอกที่ปิดกั้นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (Nebulae) (ปานทิพย์, 2554)
82

การระเบิดของภูเขาไฟ
การระเบิดของภูเขาไฟจะพ่นก๊าซและเศษวัสดุที่ละเอียดมากๆจำนวนมหาศาลเข้าสู่บรรยากาศการระเบิดที่รุนแรงมากๆจะมีกำลังมากพอที่จะพ่นเศษวัสดุต่างๆเหล่านี้ขึ้นไปได้สูงมากถึงบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ซึ่งจะกระจายแผ่ออกไปทั่วโลกและยังคงล่องลอยอยู่ในบรรยากาศนานหลายเดือนหรืออาจนานมากเป็นปีอิทธิพลที่สำคัญประการแรกที่เกิดจากเถ้าถ่านภูเขาไฟคือเป็นตัวการขวางกั้นพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่แผ่ลงมายังผิวพื้นโลกให้ลดน้อยลงมีผลทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นโทรโพสเพียร์ลดต่ำลง (ปานทิพย์, 2554)
83


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Blogger

ชื่อ นายพงษ์ศักดิ์ รุ่งกลิ่น  ม.6/2 
ความเข้าใจเกี่ยวกับ Blogger? 
-บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิลด์ไวด์เว็บ นั่นเอง ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย -สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็นBlogในรูปแบบหนึ่ง  Blog ส่วนใหญ่มักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บ ไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู -Blog มักจะมาคู่กับระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้ คล้ายๆรูปแบบของ Webboard ไม่ว่าจะเป็นติชม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือบอกแหล่งข้อมูลใหม่ๆ หรืออาจจะแค่ทักทายเจ้าของ Blog ก็เป็นได้ ถ้าคุณลองเลื่อนไปดูด้านล่างของเรื่องนี้ จะพบช่องให้กรอก Comment ทิ้งข้อความไว้ให้ได้  Blog อาจจะมีบริการทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากมายนัก โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด   บล็อกเกอร์ คิดค้นขึ้นโดยไพรา แลบส์ (Pyra Labs) ในปี พ.ศ. 2542 ที่อยู่ของการลงทะเบียนจะอยู่ที่ blogger.com เมื่อลงทะเบียนแล้วจะบันทึกบล็อกในรูป blogname.blogspot.com           

Webblog ทำอะไรได้บ้าง 
- ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว 
- ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเว็บล่ม
- เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น 
- หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง 
- ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้อยู่บ้าง