วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ คือ รูปแบบในระยะยาวของสภาพอากาศ (Weather) ในพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ หรืออธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นค่าเฉลี่ยของสภาพอากาศ (Weather) ในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงเวลาหนึ่งๆซึ่งต้องมากกว่า 30 ปี การศึกษาเกี่ยวกับ        สภาพภูมิอากาศพิจารณาไปที่ ค่าเฉลี่ยของน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลมหรือ การตรวจวัดสภาพอากาศอื่นๆที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ เช่น จากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำและข้อมูลจากดาวเทียม พบว่าในช่วงหน้าร้อนพื้นที่ที่ศึกษามีความแล้งกว่าปกติและถ้าความแห้งแล้งนี้ยังปรากฏอย่างต่อเนื่องในทุกๆหน้าร้อนก็สามารถเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง (NOAA 2005)
สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโลกถ้าสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นเช่นอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆเปลี่ยนแปลงไปสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะค่อยๆสูญพันธุ์ไปในที่สุด บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นโดยคาดว่าจะมีระดับน้ำทะเลสูงถึง 9-88 ซม. และอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ.2100 จะทำให้เกิดน้ำท่วมเกาะเล็กๆ จมหายไป พื้นที่ที่อยู่อาศัยลดน้อยลงและสร้างความเสียหายกับชายฝั่ง เขตภูมิอากาศ เขตนิเวศและเขตเกษตร เขตอบอุ่นจะเคลื่อนไปอยู่ที่ละติจูดสูงขึ้นอีกประมาณ 150-550 กิโลเมตร ป่าไม้ทะเลทรายทุ่งหญ้าและพื้นที่ธรรมชาติต่างๆจะมีลักษณะอากาศชื้นแห้งแล้ง ร้อน หรือหนาวมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างกว้างขวางคุกคามขีดความสามารถในการผลิตอาหารของโลก ทำให้ทรัพยากรน้ำเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพต่างๆจะเสียหาย (กรมอุตุนิยมวิทยามปป)
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติและมนุษย์เป็นตัวการสำคัญ การเปลี่ยนแปลงโดยสาเหตุทางธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลายาวนาน แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์จะเห็นผลได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่า
ปัจจัยจากธรรมชาติ
การหมุนรอบตัวเองของโลกและรอบดวงอาทิตย์
การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์มีผลต่อภูมิอากาศเนื่องจากการกระจายของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกลงมายังผิวโลกตามละติจูดต่างๆเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คือจะทำให้ฤดูกาลในภูมิอากาศต่างๆบนพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลงด้วยอย่างเป็นลูกโซ่ โดยที่ Milankovitch นักดาราศาสตร์ชาว ยูโกสลาเวียได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลต่างๆ (ปานทิพย์, 2554) ประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งจะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่างๆน้อยมากแต่จะมีบทบาทที่สำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในช่วงระยะเวลานับพันปี
80



การเอียงของแกนโลกจากเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามฤดูกาลปัจจุบันมุมที่แกนโลกเอียงจากเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 23.5 องศา มุมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบประมาณ 42,000 ปีโดยจะผันแปรอยู่ระหว่าง 21.8-24.4 องศา เมื่อมุมเอียงนี้เปลี่ยนแปลงไปความรุนแรงของฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยถ้าเอียงน้อยความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนจะน้อย





การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุจากภายนอกโลกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พลังงานดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านปริมาณและด้านคุณภาพซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลก การเปลี่ยนแปลงของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์มีข้อเสนอมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการผันแปรพลังงานดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะแสดงถึงความสัมพันธ์กับวงจรการเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) และหมอกที่ปิดกั้นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (Nebulae) (ปานทิพย์, 2554)
82

การระเบิดของภูเขาไฟ
การระเบิดของภูเขาไฟจะพ่นก๊าซและเศษวัสดุที่ละเอียดมากๆจำนวนมหาศาลเข้าสู่บรรยากาศการระเบิดที่รุนแรงมากๆจะมีกำลังมากพอที่จะพ่นเศษวัสดุต่างๆเหล่านี้ขึ้นไปได้สูงมากถึงบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ซึ่งจะกระจายแผ่ออกไปทั่วโลกและยังคงล่องลอยอยู่ในบรรยากาศนานหลายเดือนหรืออาจนานมากเป็นปีอิทธิพลที่สำคัญประการแรกที่เกิดจากเถ้าถ่านภูเขาไฟคือเป็นตัวการขวางกั้นพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่แผ่ลงมายังผิวพื้นโลกให้ลดน้อยลงมีผลทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นโทรโพสเพียร์ลดต่ำลง (ปานทิพย์, 2554)
83


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น